ข้อมูลทั่วไป จังหวัด ปราจีนบุรี
คำขวัญ ประจำจังหวัด
ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวาราวดี
และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถ บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิยังพบชุมชนโบราณอายุร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองศรีมโหสถ บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและพบโบราณวัตถุต่างๆ ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทสำริด กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปปราจีนบุรี เป็นจังหวัดชายแดนอยู่ทางทิศด้านตะวันออก ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 135 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 4,762 ตารางกิโลเมตร เคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรีประมาณ 800 ปี ก่อนปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ
ต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงดังเช่นปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ” จวบจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณได้ถูกยุบเลิก คงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองเมืองหนึ่ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี
ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์
1. จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางสายถนนพหลโยธิน พอถึงรังสิตให้ชิดซ้ายโดยใช้สะพานวงแหวนข้ามมาลงที่เส้นทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 เส้นนครนายก-ปราจีนบุรี พอถึงแยกขวาที่สามแยกหนองชะอมประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 319 ก็จะถึงตัวจังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ 90 ให้เลี้ยวขวาโดยใช้เส้นทางหมายเลข 33 ผ่านอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายกไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 155 ให้แยกขวาที่สามแยกบ้านหนองชะอม เส้นทางหลวงหมายเลข 319 ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร
3. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม แล้วให้เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 319 ผ่านอำเภอศรีมโหสถ ก็จะถึงตัวเมืองปราจีนบุรี ระยะทาง 158 กิโลเมตร
4. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3481 ที่เขตหนองจอก ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านสร้าง ระยะทาง 70 กิโลเมตร
หรือใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษอุดรรัถยา สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1543
รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการขบวนรถไฟโดยสาร (รถธรรมดา) สายกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี วันละ 4 ขบวน เที่ยวแรกเวลา 05.55 น., 08.00 น., 09.40 น. และ 15.25 น. โดยออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2621 8701, 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66, 0 2936 2816 (จองตั๋ว), สถานีขนส่งจังหวัดปราจีนบุรี โทร. 0 3721 1292 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th เส้นทางเดินรถมี 2 เส้นทาง คือ
1. กรุงเทพฯ-หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี เป็นรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 58, 59 เที่ยวแรกเวลา 04.50 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 21.00 น. รถออกทุก 30 นาที ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น 1 คนละ 110 บาท ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น 2 คนละ 85 บาท
2. เส้นทางกรุงเทพฯ-องครักษ์-นครนายก-ปราจันบุรี เป็นรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 920 เที่ยวแรกเวลา 05.25 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 18.25 น. ค่าโดยสารปรับอากาศชั้น 1 คนละ 92 บาท รถปรับอากาศ ชั้น2 คนละ 71 บาท
สถานที่ท่องเที่ยว
- พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์ อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- ตลาดบ้านโง้ง บ้านต้น อำเภอประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
- เมืองไม้ดอกไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ-สมุนไพรบ้านดงบัง- ถนนผลไม้บ้านหนองจวง-หนองกันเกรา อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- ตลาดหนองชะอม อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- หลวงพ่อทวารวดี อำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
- สวนนงนุช อำเภอนาดี จ.ปราจีนบุรี
- แก่งหินเพิง อำเภอนาดี จ.ปราจีนบุรี
- น้ำตกธารทิพย์ อำเภอประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
- ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
- กลุ่มโบราณสถานสระมรกต อำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
- โบราณสถานเมืองศรีมโหสถ อำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
- ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- วัดแก้วพิจิตร อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและหัตถกรรม ตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
- อุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอนาดี จ.ปราจีนบุรี
- พิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
- นกเป็ดน้ำอุทยานกบินทร์เฉลิมราชย์ อำเภอกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
- น้ำตกตะคร้อ และน้ำตกสลัดได อำเภอประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
- น้ำตกส้มป่อย อำเภอประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
- โบราณสถานพานหิน อำเภอศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี
- วัดบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
- พิพิธภัณฑ์พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- น้ำตกธารรัตนา อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- น้ำตกห้วยเกษียร อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- น้ำตกเขาอีโต้ อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- น้ำตกเหวนรก อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- สวนนกวัดสันทรีย์ อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- วัดสง่างาม อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
- วัดโบสถ์ อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี
วัฒนธรรมประเพณี
งานลอยกระทง
จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ที่บริเวณริมเขื่อนฝั่งหอประชุมอำเภอเมือง ในงานมีการประกวดนางนพมาศ ประกวดขบวนแห่กระทง การแสดงของนักเรียน ตลอดจนมีมหรสพต่าง ๆ สมโภชตลอดงาน
งานสัปดาห์ล่องแก่งหินเพิง
จัดราวเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี จัดราวเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 9 อำเภอนาดี ในงานมีการแข่งขันล่องแก่งหินเพิง และ กิจกรรมล่องแก่งหินเพิงในราคาประหยัด
งานแห่บั้งไฟ
จัดตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปีจัดตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ มีการจุดบั้งไฟขึ้นสูง การประกวดลำเซิ้งของขบวนแห่บั้งไฟ ตลอดจนการแสดงมหรสพสมโภช
งานวันเกษตร และของดีเมืองปราจีน
จัดขึ้นราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปีจัดขึ้นราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี ที่บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัด ในงานมีตลาดนัดผลไม้ และผลิตภัณฑ์การเกษตร การประกวดพืชผักผลไม้ การแข่งขัน และการสาธิตการเกษตร การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ การประกวดขบวนแห่รถยนต์การเกษตร และมหรสพสมโภช
งานมาฆปูรมีศรีปราจีน
จัดตรงกับวันมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี จัดตรงกับวันมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี ณ วัดสระมรกต อำเภอศรีมโหสถ ในงานมีกิจกรรมการปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ และประชาชนทั่วไป ตลอดทั้งการนมัสการ และเวียนเทียนรอบรอยพระพุทธบาทคู่ใหญ่ และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
credit : www.tripsthailand.com