สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑.ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ตำบลโคกปีบตั้งอยู่บริเวณส่วนกลางของอำเภอศรีมโหสถ ระยะห่างจากอำเภอประมาณ ๒ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลไผ่ชะเลือดและตำบลคู้ลำพัน อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
จำนวนหมู่บ้านที่ปกครอง
มีทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน แยกเป็น
จำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบเต็มพื้นที่ทั้งหมู่บ้านมีจำนวน ๒ หมู่บ้าน คือ
– หมู่ที่ ๑ บ้านสระมะเขือ
– หมู่ที่ ๙ บ้านหนองเรือ
จำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบบางส่วนมีจำนวน ๗ หมู่บ้าน คือ
– หมู่ที่ ๒ บ้านโคกวัด
– หมู่ที่ ๓ บ้านโคกปีบ
– หมู่ที่ ๔ บ้านโคกปีบ
– หมู่ที่ ๕ บ้านทางข้าม
– หมู่ที่ ๖ บ้านม่วงขาว
– หมู่ที่ ๗ บ้านด่าน, ชำหว้า
– หมู่ที่ ๘ บ้านหนองสะแก
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบสลับที่ดอน บางแห่งเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เนื้อที่ตำบลโคกปีบมีเนื้อที่ประมาณ ๓๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๐,๖๒๕ ไร่ เป็นพื้นที่ราบลุ่มสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๕ เมตร พื้นที่หมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
มีสภาพอากาศโดยทั่วไปร้อนถึงร้อนจัดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิประมาณ 37.79 องศาเซลเซียส โดยแบ่งเป็น 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน อากาศจะร้อนถึงร้อนจัดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิประมาณ 37.79 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งบางครั้งมีฝนตกลงมามากทำให้เกิดอุทกภัย บางปีฝนตกน้อยทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช และบางปีเกิดฝนทิ้งช่วงทำให้เกิดความแห้งแล้งเป็นเวลานาน ทำให้พืชที่ปลูกเสียหาย
ฤดูหนาว อากาศหนาวไม่มากนัก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่ตำบลโคกปีบหมู่ที่ หมู่ที่ ๕, ๖, ๗, ๘ เป็นดินดำ สามารถ
อุ้มน้ำได้ดี เหมาะสำหรับทำการเพาะปลูกพืชจำพวกข้าว และพื้นที่ ในหมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๖, ๙ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง ซึ่งเหมาะแก่การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น มันสำประหลัง
๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำของตำบลโคกปีบส่วนมากเป็นน้ำคลอง มีด้วยกันสามสาย คือ
สายที่ ๑ คลองม่วงขาว อยู่ที่หมู่ที่ ๕, ๖
สายที่ ๒ คลองช่อฟ้า อยู่ที่หมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๖, ๘
สายที่ ๓ คลองลาดโพธิ์ อยู่ที่หมู่ที่ ๗
บ่อน้ำตื้น จำนวน ๖๐๐ แห่ง
บ่อน้ำบาดาล จำนวน ๒๕ แห่ง
ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๕ แห่ง
๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้
ตำบลโคกปีบเป็นที่ราบสลับพื้นที่ราบสูง มีพื้นที่ป่าไม้ และมีพื้นที่ป้าชุมชน พืชพรรณส่วนใหญ่ที่ขึ้นในพื้นที่ป่าเป็นไม้เบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญคือ ยางนา ประดู่ และไม้เบญจพรรณอื่นๆ ที่สามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้านที่ปกครอง
มีทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน แยกเป็น
จำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบเต็มพื้นที่ทั้งหมู่บ้านมีจำนวน ๒ หมู่บ้าน คือ
– หมู่ที่ ๑ บ้านสระมะเขือ
– หมู่ที่ ๙ บ้านหนองเรือ
จำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบบางส่วนมีจำนวน ๗ หมู่บ้าน คือ
– หมู่ที่ ๒ บ้านโคกวัด
– หมู่ที่ ๓ บ้านโคกปีบ
– หมู่ที่ ๔ บ้านโคกปีบ
– หมู่ที่ ๕ บ้านทางข้าม
– หมู่ที่ ๖ บ้านม่วงขาว
– หมู่ที่ ๗ บ้านด่าน, ชำหว้า
– หมู่ที่ ๘ บ้านหนองสะแก
๒.๒ การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลโดยใช้ชื่อว่า “สภาตำบลโคกปีบ” และได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และใช้ชื่อว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ มีการแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๙ หมู่บ้าน มีจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๑๕ คน การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ ประกอบด้วย
๑. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่นิติบัญญัติ และควบคุมฝ่ายบริหารประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ๑๕ คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
มีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ ตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
๒. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่บริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติและนโยบาย ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ จำนวน ๒ คน เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ จำนวน ๑ คน
ทั้งนี้ มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล และลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล รองจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย
คณะผู้บริหารส่วนตำบลโคกปีบ
๑. นายยุทธศักดิ์ นามประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
๒. นายประยูร เหลืองทอง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
๓. นางพัดชา นามประสิทธิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
๔. นางเครือวัลย์ สมานสิริรักษ์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
- นายชัยณรงค์ ไชยเจริญ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
- นายบุญทัย พลอยสุกใส รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ
- นายสำราญ ปรุโปร่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๒
- นายอนงค์ มงคล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๒
- นายธรรมนูญ ไชยสมบูรณ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๓
- นายสุรศักดิ์ ศิลปาโณ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๔
- นายจรัญ จุ้ยทิม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๔
- นายประสิทธิ์ชัย ยะอนันต์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๕
- นายสมชาย เอื้อเฟื้อ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๖
- นายสุนันท์ พนัสเดิม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๗
- นายมานะ พนัสเดิม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๗
- นายวินิจ พาณิชย์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๘
- นางเกษราภรณ์ จงวิศาล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๘
- นายเฮี้ยง กับชัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๙
- นายสมมาตร์ อ่ำอินทร์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ ๙
ส่วนราชการทั้ง ๔ ส่วนจะมีหัวหน้าส่วนราชการ จำนวน ๑ คน รับผิดชอบดูแลการปฏิบัติราชการภายใน ซึ่งในแต่ละส่วนราชการได้กำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้ดังนี้
๑) สำนักปลัด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลและงานธุรการ งานสารบรรณ งานนโยบายและแผน การจัดทำบรรยายสรุป งานเกี่ยวกับกฎหมายและคดีงานบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล การเลือกตั้ง กิจการสภา ตรวจสอบภายใน การป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย งานรัฐพิธี การรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะอันได้แก่ การสวัสดิการสังคมและพัฒนาชุมชน การสังเคราะห์ การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสตรี รวมทั้งกำกับและเร้งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนงานอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งออกเป็น
๖ งาน คือ
๑.๑ งานบริหารงานทั่วไป
๑.๒ งานนโยบายและแผน
๑.๓ งานบริหารงานบุคคล
๑.๔ งานเกษตร
๑.๕ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๑.๖ งานพัฒนาชุมชน
๒) กองคลัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายการรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน ตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกางานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จบำนาญเงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภททะเบียนคุมรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่ายเงิน งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุขอองค์การบริหารส่วนตำบลและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย โดยแบ่งออกงานภายในอกเป็น ๔ งาน คือ
๒.๑ งานการเงิน
๒.๒ งานบัญชี
๒.๓ งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
๒.๔ งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
๓) กองช่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบการจัดทำข้อมูลด้านวิศวกรรมการจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุงานออกแบบและเขียนแบบการตรวจสอบ การก่อสร้าง งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวเครื่องกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุม เก็บรักษา เก็บรักษา การเบิกจ่ายรักษาวิศวเครื่องกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุม เก็บรักษา เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิงและงานอื่นๆ โดยแบ่งออกเป็น ๔ งาน คือ
๓.๑ งานก่อสร้าง
๓.๒ งานออกแบบและควบคุมอาคาร
๓.๓ งานประสานสาธารณูปโภค
๓.๔ งานผังเมือง
๔) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาหลักสูตรการแนะแนวการวัดผล การพัฒนาตำราเรียน การวางแผนการศึกษา ของมาตรฐานการศึกษา การจัดบริการส่งเสริมการศึกษา การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อนำไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายแผนงาน และแนวทางการปฏิบัติในการจัดการศึกษา การเผยแพร่การศึกษา และบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ส่งเสริมการกีฬา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๑ งาน ได้แก่ งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากรของตำบลโคกปีบตั้งแต่ปี 255๗ – 2562 ตามตาราง ดังนี้
ปี
|
จำนวนประชากร (คน) | รวม | ร้อยละ | |||
ชาย | ร้อยละ | หญิง | ร้อยละ | |||
2557 | 1,521 | 49.14 | 1,574 | 50.86 | 3,095 | 100 |
2558 | 1,529 | 49.61 | 1,553 | 50.39 | 3,082 | 100 |
2559 | 1,536 | 49.61 | 1,560 | 50.39 | 3,096 | 100 |
2560 | 1,542 | 49.79 | 1,555 | 50.21 | 3,097 | 100 |
2561 | 1,571 | 49.98 | 1,572 | 50.02 | 3,143 | 100 |
2562 | 1,559 | 49.92 | 1,564 | 50.08 | 3,123 | 100 |
กราฟเปรียบเทียบจำนวนประชากรย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2557 – 2562
จากตารางและแผนภูมิข้างต้น แสดงจำนวนประชากร 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 – 2562 แสดงให้เห็นว่าประชากรชายน้อยกว่าประชากรหญิง ตั้งแต่ปี 2557 – 2560 และเริ่มมีจำนวนที่ใกล้เคียงกันตั้งแต่ปี 2561 – 2562 มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทุกปีโดยเฉลี่ย และคาดว่าในอนาคตจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในสัดส่วนใกล้เคียงกันระหว่างเพศชายกับเพศหญิง
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรของตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบมีประชากรทั้งสิ้น 3,123 คน แยกเป็น
ชาย 1,559 คน หญิง 1,564 คน สามารถแบ่งเป็นช่วงอายุได้ ดังนี้
ช่วงอายุ | จำนวนประชากร (คน) | รวม | |
ชาย | หญิง | ||
อายุระหว่าง ๑ – ๑๘ ปี | 347 | 329 | 676 |
อายุระหว่าง ๑๙ – ๖๐ ปี | 940 | 900 | 1,840 |
อายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป | 272 | 335 | 607 |
รวม | 1,559 | 1,564 | 3,123 |
๔. สภาพทางสังคม
๔.๑ การศึกษา
– โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๑
– โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๗
– ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน ๒ แห่ง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๑, ๗
๔.๒ การสาธารณสุข
อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ ๑๐๐
๔.๓ อาชญากรรม
–
๔.๔ ยาเสพติด
–
๔.๕ การสังคมสงเคราะห์
– ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากไร้คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ ปราจีนบุรี
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคมขนส่ง
ถนนสายหลักจำนวน ๓ สาย ได้แก่
ถนนสายทางหลวงที่ ๓๐๗๐ (สายโคกปีบ – ศรีมหาโพธิ)
ถนนสายทางหลวงที่ ๓๑๙ (สายพนมสารคาม – ปราจีนบุรี)
ถนนกรมโยธาธิการสาย ปจ ๒๐ (สายโคกปีบ – บ้านสะแกงาม)
๕.๒ การไฟฟ้า
– ไฟฟ้าเข้าถึงทุกครัวเรือน
– ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ ในพื้นที่หมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๙
๕.๓ การประปา
ประปาเข้าถึงทุกครัวเรือน
หมู่บ้านที่มีระบบประปาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑, ๒, ๖, ๗ และหมู่ที่ ๙
หมู่ที่ใช้น้ำประปาร่วมกับของเทศบาลตำบลโคกปีบ หมู่ที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗ และหมู่ที่ ๘
๕.๔ โทรศัพท์
– โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๔ แห่ง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๑, ๗, ๙
๕.๕ ไปรษณีย์
– ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๔
๖. ระบบเศรษฐกิจ
ในพื้นที่ตำบลโคกปีบ เป็นชุมชนขนาดเล็ก ไม่ค่อยมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจนและกว้างขวางมากนัก ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การประกอบอาชีพเกษตรกรรม พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา ทำไร่มันสำประหลัง และปลูกส้มโอ ในขณะเดียวกันครัวเรือนเกษตรกรรมจะมีการเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการเพาะปลูกเป็นอาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงวัว ควาย สุกร และไก่ อาชีพนอกภาคเกษตร ส่วนมากจะเป็นการรับจ้างในกิจกรรมหลายประเภท เช่น การก่อสร้าง ทำงานในเขตอุตสาหกรรม
๖.๑ การเกษตร
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ของตำบลโคกปีบ คือ
๑. ข้าว มีพื้นที่การเพาะปลูก ประมาณ ๔,๕๐๐ ไร่
๒. ส้มโอ มีพื้นที่การเพาะปลูก ประมาณ ๒๐๐ ไร่
๓. มันสำประหลัง มีพื้นที่การเพาะปลูก ประมาณ ๒๐๐ ไร่
๖.๒ การประมง
๑. บ่อปลา จำนวน ๑๒ ราย จำนวนบ่อ ๑๗ บ่อ
๒. บ่อกุ้งก้ามกราม จำรวน ๒ ราย จำนวนบ่อ ๙ บ่อ
๖.๓ การปศุสัตว์
๑. ฟาร์มไก่ จำนวน ๑๐ แห่ง
๒. ฟาร์มหมู จำนวน ๑ แห่ง
๖.๔ การบริการ
๑. ไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
๒. ร้านซ่อมจักรยานยนต์ จำนวน ๖ แห่ง
๓. ร้านตัดผม จำนวน ๕ แห่ง
๔. บ้านเช่า จำนวน ๙ แห่ง
๖.๕ การท่องเที่ยว
ตำบลโคกปีบ มีโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เก่าแก่ที่สุด ประกอบไปด้วย สระแก้ว สระขวัญ สันคูเมือง และอาคารสถานรูปสี่เหลี่ยมต่างๆ ที่ก่อด้วยศิลาแลงทั้งสิ้น อยู่ในคูเมือง และนอก
คูเมือง ส่วนใหญ่ก่อขึ้นเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ ๑, ๒ ตำบลโคกปีบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ ๑ – ๒ กิโลเมตร
สระแก้ว เป็นโบราณสถานที่เป็นสระน้ำโบราณ สระน้ำขุดลงไปในชั้นของศิลาแลงธรรมชาติ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเมืองศรีมโหสถ ตัวสระเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีทางลงทำเป็นขั้นบันได ผนังขอบสระทุกด้านมีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น รูปช้าง สิงห์ หมู กินรี งูพันเสา สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ชั้นสูง สันนิษฐานว่า เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๑๑
คูเมือง เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ขนาด ๗๐๐ x ๑,๕๕๐ เมตร มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ คูน้ำส่วนใหญ่จะขุดตัดลงไปในชั้นดินของศิลาแลงธรรมชาติ ตอนกลางคูเมืองมีคูน้ำที่ขุดเชื่อมคูเมืองด้านทิศเหนือและทิศใต้เข้าด้วยกัน ทำให้ดูเหมือนว่า ตัวเมืองถูกแบ่งออกเป็นสอนส่วน ชาวบ้านเรียก คูน้ำแห่งนี้ว่า “คูลูกศร”
๖.๖ อุตสาหกรรม
–
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
๑. ร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ด จำนวน ๓๗ แห่ง
๒. ร้านค้าขายอาหาร จำนวน ๗ แห่ง
๓. ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ จำนวน ๑ แห่ง
๔. ร้านหล่อพระ จำนวน ๑ แห่ง
๕. ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ จำนวน ๑ แห่ง
๖. ปั้มแก๊ส จำนวน ๑ แห่ง
๗. ปั้มน้ำมัน (ปตท.) จำนวน ๑ แห่ง
๖.๘ แรงงาน
–
๗. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๗.๑ การนับถือศาสนา
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปีบ มีวัดจำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ วัดสระมะเขือ วัดป่าทรงนิมิตร วัดศรีมโหสถ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์
๗.๒ ประเพณีและงานประจำปี
–
๗.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
– จักสานตะกร้าด้วยไม้ไผ่
๗.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ส้มโอหวาน และตะกร้าจักสาน
๘. ทรัพยากรธรรมชาติ
๘.๑ น้ำ ตำบลโคกปีบ ประกอบด้วย ๙ หมู่บ้าน สภาพพื้นที่โดยรวมเป็นที่ลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร เช่น นาข้าว ไร่มันสำปะหลัง และสวนส้มโอ ทำให้ไม่มีพื้นที่ป่า และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญอยู่สามสาย ได้แก่ คลองม่วงขาว คลองช่อฟ้า และคลองลาดโพธิ์ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำในคลองเพื่อทำการเกษตร
๘.๒ ป่าไม้ –
๘.๓ ภูเขา –
๘.๔ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น –
แหล่งท่องเที่ยว/สถานที่สำคัญ
เมืองโบราณ
เป็นโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เก่าแก่ที่สุดครั้งศรีมโหสถประกอบไปด้วย สระแก้ว สระขวัญ สันคูเมือง และอาคารสถานรูปสี่เหลี่ยมต่าง ๆ ที่ก่อด้วยศิลาแลงทั้งสิ้น อยู่ในคูเมือง และนอกคูเมือง ส่วนใหญ่ก่อขึ้นเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ 1, 2 ต.โคกปีบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถไปทางทิศตะวันออก ในระหว่าง 1 – 2 กิโลเมตร
สระแก้ว
เป็นโบราณสถานที่เป็นสระน้ำโบราณ สระน้ำขุดลงไปในชั้นของศิลาแลงธรรมชาติ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเมืองศรีมโหสถ ตัวสระเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีทางลงทำเป็นขั้นบันได ผนังขอบสระทุกด้านมีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น รูปช้าง สิงห์ หมู กินรี งูพันเสา สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ชั้นสูง สันนิษฐานว่า เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา อายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 6-11
คูเมือง
เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ขนาด 700 X 1,550 เมตร มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ คูน้ำส่วนใหญ่จะขุดตัดลงไปในชั้นดินของศิลาแลงธรรมชาติ ตอนกลางคูเมืองมีคูน้ำที่ขุดเชื่อมคูเมืองด้านทิศเหนือและทิศใต้เข้าด้วยกัน ทำให้ดูเหมือนว่า ตัวเมืองถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ชาวบ้านเรียก คูน้ำแห่งนี้ว่า
“ คูลูกศร ”